ชื่อโครงการ : ถวายผ้ากฐินสามัคคี

หลักการและเหตุผล 

ด้วยประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาประจำชาติ และมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนาทุกพระองค์ พร้อมทั้ง ทรงทำนุ บำรุงพระพุทธศาสนา และรักษาโบราณราชประเพณีครบถ้วนบริบูรณ์ ในทุกด้าน คือ ด้านศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ วัดอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในปัจจุบัน  

ดังนั้น ทางวัดอาจาโรรังสีร่วมกับมูลนิธิพงษ์ศักดิ์ถนอมศรี จึงใคร่ขอบอกบุญและเชิญชวนผู้ที่มีจิตศรัทธา ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐินสามัคคีเพื่อนำผ้ากฐินสามัคคีมาทอดถวายแก่คณะสงฆ์วัดอาจาโรรังสี สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสกลนคร

ในวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2565 ณ วัดอาจาโรรังสี

                เวลา 05.00 น.ทำวัตรเช้า

                เวลา 07.15 น. พระสงฆ์ออกบิณฑบาตภายในบริเวณวัด

                เวลา 09.30 น. ถวายผ้ากฐินสามัคคี (ณ อาคารธรรมานุสรณ์  108 ปี หลวงปูเทสก์ เทสรังสี)

วัตถุประสงค์ :  

1. เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม เกิดความรักความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ

2. เพื่อทำตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิพงษ์ศักดิ์ถนอมศรี

เป้าหมาย :            ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐินสามัคคีทุกท่าน

วิธีดำเนินการ :

1. ทางวัดอาจาโรรังสีร่วมกับมูลนิธิพงษ์ศักดิ์ถนอมศรี ร่วมประชาสัมพันธ์ โครงการ

2. ดำเนินโครงการ ตามแผนงานโครงการ

3. สรุปผล และประเมินผลโครงการ

วันที่ดำเนินโครงการ :  วันที่  23 ตุลาคม 2565 ณ วัดอาจาโรรังสี  เวลา  05.00 น. – 09.30 น. 

สถานที่ดำเนินโครงการ : วัดอาจาโรรังสี

งบประมาณ :      

1.รวมยอดกฐิน                                                    42,325 บาท

2.ค่าน้ำมันรถในการเดินทาง                                        4,000  บาท       

                                                                                รวม                        46,325 บาท

 ผู้รับผิดชอบโครงการ :  มูลนิธิพงษ์ศักดิ์ ถนอมศรี

 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโครงการ : 1. มูลนิธิพงษ์ศักดิ์ ถนอมศรี

การประเมินผล  : นำผ้ากฐินสามัคคีมาทอดถวายแก่คณะสงฆ์วัดอาจาโรรังสี สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสกลนคร พร้อมปัจจัย ร่วมกับผู้คนในงานจนเสร็จพิธี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ผู้ที่มีจิตศรัทธา เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้มีความรู้สึกดีต่อประประเพณีของไทย และเกิดความรักสามัคคีการเสียสละช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการสืบสานประเพณีของไทยและเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้าไปกราบไหว้